กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำ ชนิดหมุนช้า แบบทุ่นลอย

กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา แนวคิดเรียบง่าย เติมอากาศที่ผิวน้ำ โดยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9

กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศ ที่ผิวน้ำชนิดหมุนช้า แบบทุ่นลอย จากการเจริญเติบโต ของชมชน และเมืองต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำใน แม่น้ำลำคลอง เน่าเสียเนื่องจาก มีการปล่อยของเสีย ลงแหล่งน้ำจำนวนมาก ทั้งจากคนใน ชุมชนเองและจาก โรงงานอุตสาหกรรม

โดยปกติแล้ว สิ่งสกปรก จะถูกจุลินทรีย์ ชนิดที่ใช้ออกซิเจน ย่อยสลาย แต่เมื่อออกซิเจน หมดไปหรือลดลง จุลินทรีย์ชนิดที่ ไม่ใช้ออกซิเจน จึงทำงานแทน จึงทำให้น้ำ มีสีเข้มขึ้น และมีกลิ่นเหม็น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงทรงทดลองสร้าง เครื่องเติมออกซิเจน ลงไปในน้ำ เพื่อให้น้ำมีระดับ ออกซิเจนที่ พอเหมาะและเพียงพอ สำหรับการดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิตในน้ำ อีกทั้งยังลด การเน่าเสียของน้ำ ได้ดีอีกด้วย

กังหันน้ำชัยพัฒนา

ลักษณะโครงสร้าง หลัก ๆ ประกอบด้วย โครง 12 เหลี่ยม ลอยด้วยทุนลอยน้ำ มีซองบรรจุน้ำ 6 ซองแต่ละซอง มีการเจาะรูพรุน เวลาที่ซองตักน้ำ จากด้านล่างขึ้น ไปด้านบน น้ำจะไหลผ่านรู สาดกระจายสัมผัส กับอากาศแล้วเกิดฟอง ทำให้ผิวน้ำ บริเวณนั้นมี ปริมาณออกซิเจน เพิ่มขึ้น

กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 และ ถือว่าวันที่ 2 ก.พ. ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น